เป้าประสงค์
เป้าประสงค์
1. ด้านผู้เรียน
1.1 ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนรู้ตามสาขาที่ตนต้องการ
1.2 ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม มีความเป็นประชาธิปไตย
1.3 ผู้เรียนจะต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนตามหลักสูตร มีความสามารถตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาสากล โดยมีทักษะในงาน มีความสามารถในการวิเคราะห์สังเคราะห์
1.4 ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตใจ และร่างกายที่แข็งแรง ภูมิใจในภูมิปัญญาไทย ในศิลปและวัฒนธรรมไทย
1.5 ผู้ด้อยโอกาสจะต้องได้โอกาสในการเข้าเรียนรู้เช่นบุคคลอื่น
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านผู้เรียน
- ปรับแผนการรับนักเรียน- นักศึกษา ให้สามารถรับผู้เรียนได้ตรงตามความต้องการ
- มีการนำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง
- จัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยรับความร่วมมือจากสถานประกอบการ
2. ด้านผู้สอน
2.1 จัดแหล่งการเรียนรู้ให้ครู - อาจารย์ได้ศึกษาและพัฒนาตนเอง
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์ในสถานศึกษากล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจและมีเสรีภาพทางวิชาการ
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์ในสถานศึกษาได้เข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนา หรือฝึกปฏิบัติการทางวิชาการตามที่หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดขึ้น
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์ในสถานศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงานกับครู - อาจารย์ในสถานศึกษา
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์พัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพครู
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านผู้สอน
- จัดผู้สอนและบุคลากรต่างๆที่มีใบวุฒิประสบการณ์ตรงตามสาขางาน
- จัดหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากสถานประกอบการ จากหน่วยงานต่าง ๆ หรือชุมชนท้องถิ่นมาให้ความรู้กับครูอาจารย์และนักเรียน
- ครู - อาจารย์ได้รับการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศจากสถานประกอบการ และหน่วยงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
- ครู- อาจารย์ได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการฝึกอบรม สัมมนา ดูงานอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง / ปี
3. ด้านหลักสูตร
3.1 จัดให้มีการให้ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา และการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา
3.2 จัดให้ครู - อาจารย์ได้ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรและร่วมมือกับสถานประกอบการในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้ตรงความต้องการของผู้ใช้
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู - อาจารย์ใช้การวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรหรือกระบวนการเรียนรู้
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านหลักสูตร
- มีการจัดอบรมร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น พัฒนาหลักสูตร
- มีการจัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่นหลากหลาย ตามความต้องการของผู้เรียน สถานประกอบการ หน่วยงาน หรือชุมชน
- มีการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในงานอาชีพและสภาพท้องถิ่น
- ครู - อาจารย์ได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน โดยมีการจัดทำโครงงานและดำเนินการวิจัย สามารถเผยแพร่บทความทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพ
4. ด้านเทคโนโลยี
4.1 จัดสรรทรัพยากรและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้งสากลและท้องถิ่น
4.2 ส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.3 ส่งเสริมให้ครู - อาจารย์และบุคลากรมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี
4.4 จัดเครือข่ายการให้บริการและแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางเทคโนโลยีทั้งในสถานศึกษาและระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการหรือชุมชน
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านเทคโนโลยี
การบริหารจัดการสถานศึกษาให้สู่คุณภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องนำเทคโนโลยีใช้ในการทำงานไม่ว่าเป็นการสอน หรือสารสนเทศ ในการตัดสินใจ ดังนั้น การจัดระบบที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการคือ
- จัดสรรทรัพยากรและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสากลและท้องถิ่นอย่างเพียงพอ
- จัดให้มีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา
- ครู - อาจารย์และบุคลากรได้รับการอบรม สัมมนา ให้ความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ
- มีการจัดเครือข่ายในการบริการเทคโนโลยีในสถานศึกษา
5. ด้านการบริหารและการจัดการ
5.1 จะต้องมีการระดมทรัพยากรจัดระบบเครือข่ายในการจัดการอาชีวศึกษา ให้เกิดความร่วมมือกับสถานประกอบการชุมชน แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
5.2 จัดระบบการบริหารให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหาร
5.3 จัดระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ให้บุคลากรภายนอกได้มีส่วนร่วมในการบริหาร
5.4 ส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น
5.5 จัดให้มีการบริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น
5.6 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
5.7 จัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านการบริหารและการจัดการ
- จัดให้มีการบริหารแบบกระจายอำนาจ มีความชัดเจนในการบริหารในด้านต่างๆ
- มีการให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
- มีการจัดการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและได้รับการประกันคุณภาพจากบุคคลภายนอก
6. ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหารสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีความสุข มีความเป็นธรรมชาติในการเรียนการสอน นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และปลูกฝังความมีระเบียบ วินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสะอาด ความรักความสามัคคี
ยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่สถานศึกษาควรคำนึงถึง มีดังนี้
1. สถานที่ ซึ่งประกอบด้วย
- บริเวณสถานศึกษา ได้แก่ อาคารเรียน โรงอาหาร ห้องน้ำ ห้องส้วม
- ห้องเรียน ได้แก่ รูปแบบการจัดที่นั่งเรียน การจัดมุมกิจกรรมในห้องเรียน ป้ายนิเทศ ชั้นวางสื่อ อุปกรณ์ มุมเสริมความรู้นักเรียน
2. บุคลากร ควรมีคุณลักษณะดังนี้
- การเป็นประชาธิปไตยและมีขันติธรรมทางวิชาการ
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
- มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้น
- มีสุขภาพและบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส น้ำเสียงนุ่มนวล
- ให้ความรัก ความเข้าใจและเห็นใจ
- มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน
3. การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน
- การปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
- การจัดกิจกรรมการสอนที่หลากหลาย
4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในบรรยากาศของการเรียนรู้
- การนำสื่อนวัตกรรมมาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ดัชนีวัดความสำเร็จ
ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
- ผู้บริหารและครูมีความเป็นกัลยาณมิตร
- มีศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
- มีห้องวิชาการ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดที่มีคุณภาพ
- มีศูนย์สื่อการศึกษา
- มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ที่สมบูรณ์