ภารกิจของวิทยาลัย
ภารกิจหลัก
1. จัดการเรียนการสอนต่อเนื่องรับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตร 3 ปี นักเรียน นักศึกษาและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ให้มีรูปแบบการจัดการที่เอื้อต่อการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ เทียบเท่า และเป็นผู้ที่มีอาชีพหรือทำงานในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้สามารถศึกษาต่อในระดับสูงซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตตลอดจนเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสืบไป
2. จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 6-225 ชั่วโมง (หรือมากกว่านี้)รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้นหรืออยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา(กำหนดไว้ว่า 'อ่านออกเขียนได้') เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นและตลาดแรงงานรวมถึงการสร้างคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
3. จัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา สำหรับสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการอบรมวิชาชีพ
4. จัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ (ปวช.) มีระยะเวลาเรียนของหลักสูตร 3 ระยะ คือ 1, 2 และ 3 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีของหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรช่างฝีมือจากกรมอาชีวศึกษาหลักสูตรนี้จะรับผู้สำเร็จการศึกษาจากมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า สำหรับ ปวช. ปีที่ 1 ปีที่ 2 และ 3 จะรับต่อจากชั้น ปวช. ปีที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
5. จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพต่อยอดในสาขาที่ใช้เทคโนโลยีสูง ต่อเนื่องจากหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นหรือหลักสูตรอื่น ๆ เพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์ชั้นสูง
ภารกิจรอง
1. ให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่น
2. เป็นศูนย์กลางวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
3. จัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้แก่ผู้สำเร็จการฝีมือจากสถาบันการศึกษา ผู้มีประสบการณ์ และหรือผู้ชำนาญงาน
4. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพทั้งการส่งเสริมผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนากรเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
5. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
6. จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
ดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด แหล่งข้อมูล และการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ การจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ และรูปแบบการศึกษา